เจาะอุโมงค์ประชิดกำเเพงวัดพระแก้วแล้ว..สุดยอดมากโครงการนี้.!
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม
https://youtu.be/9c_0vDwhR8
“ทุ่มพันล้านผุดอุโมงค์เชื่อม “มหาราช” กทม.จัดระเบียบรอบสนามหลวงเกาะรัตนโกสินทร์
กรุวเทพมหานคร ทุ่ม 1.1 พันล้าน ผุด 3 อุโมงค์ทางเดินลอดถนนมหาราช และถนนหน้าพระลาน จัดระเบียบการจราจร ปรับภูมิทัศน์สนามหลวง เพิ่มห้องน้ำ ห้องส้วม โถงพักคอย รับนักท่องเที่ยวไทย และต่างชาติกว่า 35,000 คนต่อวัน แห่ชมโบราณสถาน สถานที่ประวัติศาสตร์ พระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม รอเสนอรูปแบบคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ ก่อสร้างในปี 63 เสร็จปี 64″
กรุงเทพมหานคร เปิดเผย ว่า ในการประชุมคณะผู้บริหาร กทม มี พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธาน เมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2562 ที่ผ่านมา ได้มีการพิจารณาอนุมัติโครงการก่อสร้างอุโมงค์ทางเดินลอดถนนมหาราช และถนนหน้าพระลาน จำนวน 2 โครงการ วงเงินก่อสร้างรวม 1,125 ล้านบาท โดยอนุมัติให้ใช้งบประมาณก่อสร้างผูกพันในปี 25632564 ประกอบด้วย 1.โครงการก่อสร้างอุโมงค์ทางเดินลอดถนนหน้าพระลาน จำนวน 2 จุด วงเงิน 945 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 540 วัน ได้แก่ อุโมงค์ทางเดินลอดหน้าพระลาน จุดที่ 1 ระยะทาง 96 เมตร พื้นที่รวม 6,280 ตารางเมตร พร้อมห้องน้ำชาย 21 ห้อง ห้องน้ำหญิง 55 ห้อง โถงพักคอยและทางเดิน อาคารกองอำนวยการ
และอุโมงค์ทางเดินลอดถนนหน้าพระลาน จุดที่ 2 ระยะทาง 37 เมตร พื้นที่รวม 350 ตารางเมตร พร้อมงานก่อสร้างระบบสุขาภิบาล ระบบระบายน้ำ ระบบไฟแสงสว่าง ระบบระบายอากาศและปรับอากาศ ระบบจราจรและงานปรับปรุงภูมิทัศน์ และงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
2.โครงการก่อสร้างอุโมงค์ทางเดินลอดถนนมหาราช วงเงิน 180 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 360 วัน ระยะทาง 90 เมตร พื้นที่รวม 1,146 ตารางเมตร พร้อมห้องน้ำชาย 15 ห้อง ห้องน้ำหญิง 20 ห้อง โถงพักคอย ทางเดิน และงานก่อสร้างระบบสุขาภิบาล ระบบระบายน้ำ ระบบไฟแสงสว่าง ระบบระบายอากาศและปรับอากาศ ระบบจราจรและงานปรับปรุงภูมิทัศน์ และงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
“โครงการไม่ต้องทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA แต่ทำ IEE หรือรายงานผลกระทบเบื้องต้น แต่เนื่องจากโครงการอยู่ในพื้นที่เกาะกรุงรัตนโกสินทร์ จะต้องเสนอรูปแบบการก่อสร้างให้กับคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่าพิจารณาเห็นชอบก่อน จากนั้น กทม.ถึงจะเดินหน้าโครงการ เพื่อดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีตามที่กรมศิลปากรกำหนดแล้วเสร็จ จากนั้นถึงจะเดินหน้าก่อสร้าง คาดว่าจะเริ่มงานก่อสร้างภายในปีงบประมาณ 2563 ใช้เวลาก่อสร้าง 540 วัน หรือประมาณปีเศษ ตามแผนจะให้เสร็จในปี 2564”
สำหรับโครงการนี้ กทม.มีความต้องการอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวในพื้นที่รอบเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเข้าชมพระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นจำนวนมาก เฉลี่ยวันละไม่ต่ำกว่า 35,000 คน
โดยส่งผลกระทบกับการจราจร ความปลอดภัยในการสัญจรของประชาชนและนักท่องเที่ยว ประกอบกับไม่มีพื้นที่รองรับในส่วนห้องน้ำไว้บริการสำหรับนักท่องเที่ยว ทำให้ กทม มีแนวคิดที่จะดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์ทางเดินลอดบริเวณถนนมหาราช เพื่อจัดระเบียบให้เกิดความปลอดภัยในการสัญจร ไม่ต้องเดินข้ามถนน รวมถึงเป็นการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของพื้นที่บริเวณสนามหลวงให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และสวยงามสมเป็นสถานที่สำคัญของประเทศชาติ
ปัจจุบันการเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวโดยรอบเกาะรัตนโกสินทร์ มีความสะดวกมากขึ้น จากการที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม) เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อท่าพระ โดยมีสถานีสนามไชยที่อยู่ใกล้กับโบราณสถาน เช่น พระบรมมหาราชวัง วัดโพธิ์ ศาลหลักเมืองฯลฯ
โยธา15นาที : วิชาวิศวกรรมฐานราก #2 การตรวจสอบชั้นดิน
กรุงเทพกำลังจะหายไป!?
กรุงเทพกำลังจะหายไป!? เค้าบอกว่ากรุงเทพจะจมน้ำในอีก 30 ปี บางคนก็บอกว่า 15 ปี …มันจริงรึเปล่า? แล้วเราจะมีวิธีหยุดยั้งหายนะนี้มั้ย?
…เดี๋ยวพูดให้ฟัง
Facebook:
https://www.facebook.com/pudproduction
ลิงก์ตลาดเบอร์มงคล Decoder159:
https://www.decoder159.com/
สีผังเมืองแบ่งยังไง ที่ดินแต่ละในแต่ละสีใช้ทำอะไรได้บ้าง | Guru Living
สีผังเมืองแบ่งยังไง ที่ดินแต่ละในแต่ละสีใช้ทำอะไรได้บ้าง | Guru Living
หลายคนอาจจะยังไม่ทราบนะครับว่าจริงๆแล้วเนี่ยที่ดินที่อยู่ในจังหวัดเดียวกันหรืออยู่ในพื้นที่ที่ใกล้เคียงกันเนี่ยอาจจะมีข้อกำหนดตามกฎหมายที่สามารถใช้งานได้ปกติตามวัตถุประสงค์ครับยกตัวอย่างอย่างง่ายที่สุดเลยคือในกรุงเทพฯเป็นเมืองหลวงของเราเนี่ยครับพื้นที่แตกต่างกันนะครับจะถูกกำหนดไว้เป็นโซนโซนนะว่าพื้นที่ส่วนนี้มีไว้เพื่อการเกษตรเท่านั้น พื้นที่ส่วนนี้มีไว้เพื่อที่อยู่อาศัยเท่านั้น หรือพื้นที่ส่วนนี้มีไว้เพื่อทำอุตสาหกรรมเท่านั้น ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ครับจะถูกจำแนกออกมาเป็นส่วนๆโดยแบ่งเป็นสีที่เรียกว่าสิ่งของผังเมืองครับ
การแบ่งสีการแบ่งพื้นที่ของเมืองต่างๆเนี่ยเขาจะอ้างอิงจากอะไร เขาจะอ้างอิงจาก กฎหมายผังเมืองครับ ในประเทศไทยกฎหมายผังเมืองมีขึ้นเพื่อกำหนดพื้นที่ใช้สอยโดยรวมของประเทศ ให้เป็นระเบียบและเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคน หากไม่มีกฎหมายผังเมืองแล้วจะเกิดปัญหา เช่น ชุมชนแออัด อากาศเป็นพิษ หรือไม่มีที่ดินเหลือทำเกษตร โดยกฎหมายจะกำหนดไว้ว่าพื้นที่ไหนสร้างอะไรได้บ้าง ห้ามสร้างอะไรบ้าง หรือสร้างได้แต่จำกัดความสูง ประชาชนทั่วไป
สามารถเปิดดูกฎหมายกันได้ที่ เว็ปไซต์ของกรมโยธาธิการและผังเมือง http://www.dpt.go.th/
1. ที่ดินประเภทอยู่อาศัย
แบ่งโซนออกเป็น 3 สี ยิ่งเข้มยิ่งแปลว่ามีปริมาณการ “อยู่อาศัย” ในพื้นที่หนาแน่น และมีรหัสกำกับคือตัว “ย.” ตั้งแต่ ย.1ย.10 เริ่มกันที่เฉดสีอ่อน ที่ดินอยู่อาศัย
“สีเหลือง” ความหนาแน่นของการอยู่อาศัยต่ำ ตั้งในทำเลแถบชานเมือง กำกับด้วยรหัสตั้งแต่ ย.1–ย.4 จุดประสงค์คือต้องการให้มีสภาพแวดล้อมในการอยู่อาศัยที่ดี จึงมีการกำหนดรูปแบบอาคารที่อยู่อาศัยมาเกี่ยวข้อง
ย.4 ให้ความสำคัญกับพื้นที่ชานเมืองที่อยู่ในเขตให้บริการของระบบขนส่งมวลชน ที่ดินอยู่อาศัย
“สีส้ม” ความหนาแน่นของการอยู่อาศัยปานกลาง อยู่ในบริเวณพื้นที่ต่อเนื่องกับเขตเมืองชั้นใน รหัสกำกับคือตั้งแต่ ย.5ย.7 สามารถสร้างที่อยู่อาศัยได้ทุกรูปแบบ ถ้าเป็นอาคารชุดที่มีเนื้อที่เกิน 10,000 ตารางเมตร จะต้องตั้งอยู่ริมถนนที่มีเขตทางไม่น้อยกว่า 30 เมตร หรืออยู่ในระยะ 500 เมตรจากรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
โดยจุดประสงค์ของที่ดิน ย.5 เน้นรองรับการขยายตัวของการอยู่อาศัยในบริเวณพื้นที่ต่อเนื่องกับเขตเมืองชั้นใน ขณะที่ ย.6 จะให้ความสนใจเฉพาะบริเวณที่เป็นชุมชนชานเมือง เขตอุตสาหกรรม และนิคมอุตสาหกรรม ส่วน ย.7 มุ่งรองรับการอยู่อาศัยเฉพาะพื้นที่ต่อเนื่องกับเขตเมืองชั้นในบริเวณที่อยู่ในเขตการให้บริการของระบบขนส่งมวลชน ด้านที่ดินอยู่อาศัย
“สีน้ำตาล” ความหนาแน่นของการอยู่อาศัยสูงตามเฉดสีเข้มสุด แน่นอนว่านี่คือพื้นที่ในบริเวณเมืองชั้นใน รหัสกำกับคือ ย.8ย.10 สามารถสร้างที่อยู่อาศัยได้ทุกรูปแบบ เนื่องจากที่ดินมีมูลค่าสูง โครงการที่อยู่อาศัยแนวตั้งต่างๆ จึงผุดกลางใจเมือง ทั้งคอนโดมิเนียม และเรสซิเดนส์ ความแตกต่างคือ
ย.8 จะเน้นให้ความสำคัญกับการรักษาทัศนียภาพและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
ย.9 จะเน้นที่บริเวณเมืองชั้นในและอยู่ในเขตการให้บริการของระบบขนส่งมวลชน
ย.10 จะเป็นบริเวณของเมืองชั้นในซึ่งเป็นรอยต่อกับย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางเมือง อีกทั้งยังอยู่ในเขตให้บริการของระบบขนส่งมวลชน
2. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม
ใช้ “สีแดง” เป็นตัวแทนพื้นที่ที่มีจุดประสงค์หลักเพื่อการพาณิชย์ โดยสามารถสร้างที่อยู่อาศัยได้ และมีข้อจำกัดน้อยกว่าที่ดินสีอื่น
พ.1 และ พ.2 เน้นการพัฒนาที่ดินเพื่อเป็นศูนย์พาณิชยกรรมของชุมชน ในการกระจายกิจกรรมการค้า ศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ และนันทนาการ ที่อำนวยความสะดวกต่อการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณชานเมือง
พ.3 ที่มุ่งกลุ่มเป้าหมายประชาชนทั่วไป ไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้อาศัยในพื้นที่เท่านั้น
พ.4 มีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจ การค้า บริการ และนันทนาการ รวมไปถึงการท่องเที่ยว เนื่องจากตั้งอยู่ในเขตการให้บริการของระบบขนส่งมวลชนทำให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย ตบท้ายด้วย
พ.5 ด้วยจุดประสงค์ที่ใหญ่และกว้างขึ้น จึงให้ความสำคัญกับการเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจ การค้า บริการ นันทนาการ และการท่องเที่ยวในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
3. ที่ดินประเภทอุตสาหกรรม
เขตสีม่วง ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า
เขตสีเม็ดมะปราง ที่ดินประเภทคลังสินค้า
เขตสีม่วงอ่อน ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมเฉพาะกิจ
4. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
เขตสีเขียว ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
เขตสีเขียวมะกอก ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา
เขตสีขาวมีกรอบและเส้นทะแยงสีเขียว ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม
5.ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์และศิลปวัฒนธรรมไทย มักจะอยู่ในเขตกรุงเทพฯ ชั้นในกระจุกตัวอยู่ในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ สีน้ำตาลอ่อน
6. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
เขตสีเทา ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา
เขตสีน้ำเงิน ที่ดินประเภทสถาบันราชการ
ที่ดินประเภทนี้จะใช้เพื่อเป็นสถาบันราชการ หรือการดำเนินกิจการของรัฐที่เกี่ยวข้องกับระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ หรือเพื่อสาธารณะประโยชน์
ทุกคนคงจะได้ทราบไปแล้วนะครับว่าผังสีเมืองแต่ละแบบสามารถทำอะไรได้บ้างดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องสำคัญมากๆเลยครับเวลาเราจะไปซื้อที่ดินเพื่อที่จะมาพัฒนาไม่ว่าจะพัฒนาเป็นโครงการบ้านพัฒนาเป็นโรงงานหรือพัฒนาอาคารพาณิชย์เราต้องศึกษาเรื่องผังสีเมืองให้ละเอียดก่อนนะ ไม่อย่างนั้นแล้วก็อาจจะซื้อมาแล้วทำอะไรไ่ม่ได้ก็ได้นะครับ
ผังสีเมือง สีผังเมือง สีที่ดิน ผังเมือง ที่ดิน
นพดล เป็นเกษตรกรใครบอกว่ารวยไม่ได้ : มหาอำนาจบ้านนา (4 ก.ค. 64)
“นพดล” ผู้ที่ชื่นชอบและรักในการทำเกษตรมาตั้งแต่เด็ก เนื่องจากพ่อของเขาทำอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก ในอดีตพ่อของนพดลจะทำเกษตรแบบเชิงเดี่ยว ขายผลผลิตได้ในราคาต่ำและยังถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง นพดลจึงปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกมาเป็นแบบสวนผสมผสาน มีทั้ง เป็ด ไก่ไข่ และพืชผักสวนครัวที่ปลูกหมุนเวียนอยู่ในสวน จนตอนนี้สวนของเขาได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและเปิดตลาดให้เกษตรกรนำพืชผักมาวางขายได้อีกด้วย
ติดตามชมรายการมหาอำนาจบ้านนา วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม 2564 เวลา 16.05 16.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังทาง http://www.thaipbs.or.th/LordsOfFarm
เกษตรกร เกษตรเชิงเดี่ยว พืชผักสวนครัว
กด Subscribe ติดตามรายการดี ๆ ของช่อง ได้ที่ : http://thaip.bs/YSBht5j
และ ติดตามไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้ที่
Website : http://www.thaipbs.or.th
Facebook : http://www.fb.com/ThaiPBS
Twitter : http://www.twitter.com/ThaiPBS
Instagram : http://www.instagram.com/ThaiPBS
LINE : http://www.thaipbs.or.th/AddLINE
YouTube : http://www.youtube.com/ThaiPBS
นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่wiki tại đây