อำนาจอธิปไตย แบบขอสั้นๆ
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่
Happy 3 ปี คสช…
Facebook : https://www.facebook.com/castby9arm
Twitter : https://twitter.com/castby9arm
ลำดับศักดิ์กฎหมาย 5 นาที มีคำตอบ
5 นาที มีคำตอบ ลำดับศักดิ์กฎหมาย สรุปย่อ
ซวยแล้ว”ประยุทธ์”! “กุนซือ กรธ.” ชี้ ปมนายก 8 ปี เริ่มนับปี 57 แนะ”เพื่อไทย” รีบยื่นศาลรัฐธรรมนูญ
‘อดีตที่ปรึกษากรธ.’ ชี้ ปมนายกฯ 8 ปี ศึกใหญ่’ประยุทธ์’ เผยส่วนตัวนับวาระตั้งแต่ปี 57 แนะ ‘เพื่อไทยก้าวไกล’ ยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ตีความก่อน ส.ค. 65 หวั่นเกิดปัญหาภายหลัง
นายเจษฎ์ โทณะวณิก นักวิชาการทางกฎหมาย และอดีตที่ปรึกษากรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงกรณี นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย
ระบุตามรัฐธรรมนูญมาตรา 158 บัญญัติว่า นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลา
ในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง ว่า
หากฝ่ายการเมืองจะยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกฯ ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตามมาตรา 158 จะต้องพ่วงมาตรา 264 ที่บัญญัติให้
คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ จนกว่าครม.ที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก
ตามรัฐธรรมนูญนี้จะเข้ารับหน้าที่ไปด้วย
สำหรับตน จะนับวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯของพล.อ.ประยุทธ์ ตั้งแต่ปี 2557 ส่วนคนที่บอกว่านับตั้งแต่ปี 2560 ที่รัฐธรรมนูญบังคับใช้ ถามว่าทำไมถึงนับปี 2560
แล้วคนที่บอกว่านับหลังการเลือกตั้งปี 2562 ถามว่าทำไมจึงนับหลังการเลือกตั้ง เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 264 บอกชัดเจน ดังนั้น ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2560
นายเจษฎ์ กล่าวต่อว่า เรื่องนี้หากจะทำให้เกิดความชัดเจน ต้องยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความเท่านั้น ว่า สรุปแล้วการนับวาระนายกฯของพล.อ.ประยุทธ์ นับตั้งแต่ปีไหน และครบวาระเมื่อใด
หากพรรคฝ่ายค้าน ทั้งพรรคเพื่อไทย และพรรคก้าวไกล จะยื่นเรื่อง ควรไปยื่นให้ศาลรัฐธรรรมนูญวินิจฉัย ก่อนจะเกิดปัญหาขึ้นจะดีกว่า คือ ยื่นก่อนเดือน ส.ค.2565
เพราะตอนนี้ยังไม่ถึงเวลาที่พล.อ.ประยุทธ์ จะครบวาระ
ไม่เช่นนั้นหากยื่นตีความหลังจากเกิดเหตุแล้ว ศาลวินิจฉัยว่าพล.อ.ประยุทธ์อยู่เกินวาระ และอยู่โดยไม่มีอำนาจ จะทำให้ประเทศเกิดความเสียหายได้ เพราะนายกฯต้องบริหารประเทศ
และพิจารณาสั่งการตลอด ถามว่าใครจะรับผิดชอบ ทำไมต้องรอให้ถึงวันนั้นเพื่อให้เกิดปัญหาขึ้นก่อน อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ถือเป็นศึกใหญ่ที่ร้อนหูร้อนตัวของพล.อ.ประยุทธ์ อีกครั้ง
ถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีใครทราบแน่ชัดว่า สุดท้ายแล้ว พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะยังอยู่บนถนนการเมืองต่อไปหรือไม่ หากว่าอนาคตเกิดมีการยุบสภาฯ เกิดขึ้น
จนทำให้รัฐบาลอยู่ไม่ครบเทอมในปี 2566 จนทำให้ต้องมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น
ถึงตอนนั้น พลเอกประยุทธ์ จะยังคงให้พรรคการเมืองเสนอชื่อเป็นแคนดิเดทนายกรัฐมนตรี ตอนเลือกตั้งอีกรอบหรือไม่ เช่นเดียวกับกรณี หากอยู่ครบเทอม แล้วมีการเลือกตั้งทั่วไปเกิดขึ้น
พลเอกประยุทธ์ จะวางมือหรือไม่ เพราะหากเป็นนายกฯไปถึงปี 2566 ก็เท่ากับ พลเอกประยุทธ์ นั่งเป็นนายกฯ มายาวนานถึง 9 ปี
ความไม่แน่ชัดดังกล่าว ว่าไปแล้ว ก็ไม่แปลก เพราะด้วยเงื่อนไข เวลาปฏิทินการเมือง ไม่ว่าจะมีการยุบสภา หรือรัฐบาลอยู่ครบเทอม นับจากปัจจุบัน มันก็ยังมีเวลาอีกนาน
ทำให้ พลเอกประยุทธ์ ก็ไม่ต้องรีบร้อนอะไร ในการตัดสินใจ จนต้องประกาศออกมาในเวลานี้
เพราะอย่างตอนเลือกตั้งปี 2562 กว่า พลเอกประยุทธ์ จะเซ็นชื่อให้พรรคพลังประชารัฐ เสนอชื่อตัวเองเป็นแคนดิเดทนายกฯ ก็ปาเข้าไปเกือบใกล้ๆจะโค้งสุดท้าย
ของการยื่นรายชื่อต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แล้ว
ด้วยเหตุนี้ คงไม่มีใครคาดได้ว่า พลเอกประยุทธ์จะลงการเมืองต่อหรือไม่ คำตอบก็คงอยู่ในสายลม
แต่ระหว่างนี้ เกิดประเด็นทางข้อกฎหมาย และบทบัญญัติทางรัฐธรรมนูญขึ้นมา หลังมีการโยนประเด็นออกมาจาก สุทิน คลังแสง ประธานวิปฝ่ายค้าน จากพรรคเพื่อไทย
ที่ตั้งข้อสังเกตุเรื่อง การอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ของพลเอกประยุทธ์หลังจากนี้ ว่าจะอยู่ได้อีกนานแค่ไหน โดยยกรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน มาตรา 158 วรรคสี่ ที่บัญญัติว่า
“นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้ว เกิน 8 ปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป หลังพ้นจากตำแหน่ง”
ประธานวิปฝ่ายค้าน ชี้ประเด็น โดยยกวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯของพลเอกประยุทธ์ ว่าหากนับจากวันที่พล.อ.ประยุทธ์ เข้ารับตำแหน่งนายกฯหลังที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
โหวตเห็นชอบ และต่อมามีการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ในวันที่ 25 สิงหาคม 2557
ดังนั้น พลเอกประยุทธ์ ก็จะต้องครบการเป็นนายกฯ 8 ปี ในเดือนสิงหาคม ปีหน้า 2565 ไม่สามารถเป็นได้นานเกินกว่านั้น
ถือเป็นประเด็นที่น่าสนใจ คาดว่าส.ส.ฝ่ายค้าน หรือสมาชิกรัฐสภา ทั้งส.ส.และส.ว. จะเข้าชื่อกันยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยประเด็นนี้แน่ เพื่อคลายความคลุมเคลือ
และทำให้เกิดบรรทัดฐานทางข้อกฎหมาย
และมีทางที่ ศาลรัฐธรรมนูญ จะวินิจฉัยให้การนับเวลาการเป็นนายกฯ ของพลเอกประยุทธ์ ให้นับจากวันได้รับการโปรดเกล้าฯเป็นนายกฯ เมื่อสิงหาคมปี 2557 ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน
โดยประเด็นนี้ แม้แต่ กุนซือใหญ่ด้านกฎหมายของพลังประชารัฐ อย่าง นายไพบูลย์ นิติตะวัน ยังชี้ว่า เมื่อไม่เขียนไว้ชัดเจนในบทเฉพาะกาล จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องใช้วิธีการตีความ
พิจารณารัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง คือ มาตรา 158 วรรค 4 นายกจะดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 8 ปี กับ มาตรา 170 เหตุให้รัฐมนตรีสิ้นสุดลง ภายใต้การพิจารณาเรื่อง เจตนารมณ์ของผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญ
เป็นสำคัญ
จึงต้องไปดูว่า ผู้ยกร่างรธน.ฉบับปัจจุบัน คือ กรรมการร่างรธน.ชุด มีชัย ฤชุพันธุ์ มีจุดมุ่งหมายอย่างใด ถึงเขียนล็อกไว้ว่า ให้คนเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ไม่เกินแปดปี ติดต่อกัน
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก ข่าวสด และ ผู้จัดการออนไลน์
https://www.khaosod.co.th/politics/news_6645604
https://mgronline.com/crime/detail/9640000095815
เรื่องเล่าข่าวเด็ด
ศาลรัฐธรรมนูญ
เพื่อไทย
เรื่องเล่า ข่าวเด็ด
รายการห้องเรียนรัฐธรรมนูญ ตอนที่ 13 “กระบวนการนิติบัญญัติ”
ตอนที่ 5 อำนาจอธิปไตย
สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม
ตอนที่ 5 อำนาจอธิปไตย
นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่wiki tại đây