การแสดงภาคกลางรำกลองยาว ม.4.13 โรงเรียนพัทลุง
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม
รางวัลชนะเลิศการประกวดคลิปการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ | คณะใต้ร่มปาริฉัตร | รวมศิลป์แผ่นดินสยาม
📣 ผลการประกวด สุดยอดการประกวดคลิปดนตรีพื้นบ้านและการแสดงพื้นบ้าน พุทธศักราช ๒๕๖๔ “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม”
“การประกวด ประเภทคลิปการแสดงพื้นบ้าน”
✨รางวัลชนะเลิศ ทั้ง ๔ ภาค รับถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เงินรางวัล ๕๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
✨รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ทั้ง ๔ ภาค รับถ้วยเกียรติยศจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมเงินรางวัล ๔๐,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร
✨รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ทั้ง ๔ ภาค รับถ้วยเกียรติยศจากปลัดกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมเงินรางวัล ๓๐,๐๐๐ บาทตาม พร้อมเกียรติบัตร
รวมศิลป์แผ่นดินสยาม
เพลงพื้นบ้านภาคกลาง
เพลงพื้นบ้านภาคกลาง
https://youtu.be/7ExVXHnOsVw
รำโนรา โดยภีระเมศร์ ทิพย์ประชาบาล รำสวยสุดในยุคนี้ ดนตรีเพราะ ภาพคมชัด ณ.โรงละครแห่งชาติ |Full HD|
การแสดงรำ โนรา
แสดงรำ โนรา โดย ภีระเมศร์ ทิพย์ประชาบาล
บันทึกการแสดงสด งาน “มหกรรมนาฏศิลป์ ของ ชมรมคนรักอาจารย์ เสรี หวังในธรรม (ศิลปินแห่งชาติ)”
แสดงเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2558 ณ โรงละครแห่งชาติ
โนรา เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่เป็นที่นิยมของคนในภาคใต้ องค์ประกอบหลักในการแสดงโนรา คือเครื่องแต่งกาย และเครื่องดนตรี
เครื่องแต่งกายประกอบด้วย เทริด เป็นเครื่องประดับศีรษะของตัวนายโรงหรือโนราใหญ่หรือตัวยืนเครื่อง เครื่องลูกปัดร้อยด้วยลูกปัดสีเป็นลายมีดอกดวง ใช้สำหรับสวมลำตัวท่อนบนแทนเสื้อ ปีกนกแอ่นหรือปีกเหน่ง ทับทรวงปีกหรือหางหงส์ ผ้านุ่ง สนับเพลา ผ้าห้อยหน้า ผ้าห้อยข้างกำไลต้นแขนปลายแขน และเล็บ ทั้งหมดนี้เป็นเครื่องแต่งกายของโนราใหญ่หรือโนรายืนเครื่อง ส่วนเครื่องแต่งกายของตัวนางหรือนางรำเรียกว่า “เครื่องนาง” ไม่มีกำไลต้นแขนทับทรวง และปีกนกแอ่น
เครื่องดนตรีของโนรา ส่วนใหญ่เป็นเครื่องตีให้ จังหวะ ประกอบด้วย ทับ (โทนหรือทับโนรา) มี ๒ ใบ เสียง ต่างกันเล็กน้อย ใช้คนตีเพียงคนเดียว เป็นเครื่องตีที่สำคัญ ที่สุด เพราะทำหน้าที่คุมจังหวะและเป็นตัวนำในการเปลี่ยน จังหวะทำนองตามผู้รำ กลองทำหน้าที่เสริมเน้นจังหวะและ ล้อเสียงทับ ปี่ โหม่ง หรือฆ้องคู่ ฉิ่ง และแตระ
การแสดงโนรา มีการแสดง 2 รูปแบบ คือ โนราประกอบ พิธีกรรม (โนราโรงครู) และโนราเพื่อความบันเทิง ซึ่งมี ความแตกต่างกัน ดังนี้
1.โนราประกอบพิธีกรรมหรือโนราโรงครู พิธีกรรมที่มีความสำคัญในวงการโนราเป็นอย่างยิ่ง เพราะ เป็นพิธีกรรมเพื่อเชิญครูหรือบรรพบุรุษของโนรามายัง โรงพิธีเพื่อไหว้ครูหรือไหว้ตายายโนรา เพื่อรับของแก้บน และ เพื่อครอบเทริดหรือผูกผ้าแก่ผู้แสดงโนรารุ่นใหม่
2.โนราเพื่อความบันเทิง เป็นการแสดงเพื่อให้ความ บันเทิงโดยตรง
Cr.http://ich.culture.go.th/
ร่วมสืบสานและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม โปรดเป็นกำลังใจให้กับเรา เพื่อท่านจะได้ไม่พลาดการรับชมใหม่ๆ
https://www.youtube.com/channel/UCMGL3TderGw_ITM4Nnn3Y1A?sub_confirmation=1
Siammelodies ระบำรำฟ้อน โรงละครแห่งชาติ
ระบำรับขวัญข้าว Thai performance from Central region สถาบันบัณฑิตพัฒนศืลป์ อ.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์
ระบำประยุกต์ ชุด รับขวัญข้าว
เป็นผลงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาคณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ที่ได้แนวคิดมาจากพิธีกรรมในการทำขวัญข้าว เป็นพิธีกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ ด้วยมีความเคารพบูชา ความสามัคคี ความมีน้ำใจ ซึ่งวัฒนธรรมเหล่านี้ได้เป็นที่แพร่หลายในอดีต จากแนวคิดดังกล่าวนำสู่รูปแบบนาฏศิลป์สร้างสรรค์ เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้เห็นถึงความสำคัญของ ผืนแผ่นดินที่ให้ความอุดมสมบูรณ์ก่อให้เกิดพืชพรรณธัญญาหารหล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์ พระคุณของข้าวอาหารหลักของชาวไทย ตลอดจนจารีตประเพณี วัฒนธรรม อันแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาอันทรงคุณค่า ที่ควรสืบสาน
ร่วมสืบสานและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม โปรดเป็นกำลังใจให้กับเรา เพื่อท่านจะได้ไม่พลาดการรับชมใหม่ๆ
https://www.youtube.com/channel/UCMGL3TderGw_ITM4Nnn3Y1A?sub_confirmation=1
Siammelodies ระบำรำฟ้อน
นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆwiki tại đây